Background



ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
3 ตุลาคม 2567

42


ส่วนที่ บทนำ

  1. สภาพทั่วไป

.๑ ลักษณะที่ตั้งและอาณาเขต

องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ห่างจากตัวจังหวัดโดยทางรถยนต์ ๒๖ กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอโดยทางรถยนต์ ๑๖ กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกันดังนี้

อาณาเขตทางทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนบาโงระนะ เขตเทศบาลตำบลมะรือโบตก อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

อาณาเขตทางทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านสะโลตราแดะ ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

อาณาเขตทางทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านทำนบ ตำบลเฉลิม อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส

อาณาเขตทางทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านไทยสุข ตำบลลาโล๊ะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส

เนื้อที่

องค์การบริหารส่วนมะรือโบตก มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๔๖.๓๑ ตารางกิโลเมตร หรือ ๒๙,๓๐๐ ไร่

.๒ วิสัยทัศน์ (Vision)

“ การคมนาคมสะดวก เศรษฐกิจดี การศึกษาก้าวไกล สังคมคุณธรรม การกีฬาเด่น ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ”

.๓ ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก ทั่วไปเป็นที่ราบเชิงเขาประมาณ ¾ ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นป่าและภูเขา มีแหล่งน้ำธรรมชาติไหลผ่าน จำนวน ๕ สาย ได้แก่ คลองไอร์ฮาปา คลองนิบง คลองบูเก๊ะอาแว คลองสะโลว์ และคลองบระเอ็ง

ลักษณะภูมิอากาศของพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก มีลักษณะอากาศแบบร้อนชื้น มี ๒ ฤดู คือ

– ฤดูร้อน อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนมิถุนายน เนื่องจากได้รับลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้อากาศโดยทั่วไปร้อนชื้น อุณหภูมิเฉลี่ย ๒๗.๙๑ องศงเซลเซียส

– ฤดูฝน อยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนมกราคม ของปีถัดไป แบ่งเป็น ๒ ช่วง ได้แก่ ช่วงรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้ฝนตกชุกในเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม และช่วงที่รับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฝนตกชุกในเดือนพฤศจิกายน ถึง เดือนมกราคม

อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของจังหวัดนราธิวาส อยู่ในช่วง ๒๕.๙ – ๒๙.๔ องศาเซลเซียส โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๓๓.๕ องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน ค่าต่ำสุดเฉลี่ย ๒๒.๖ องศาเซลเซียส

.๔ จำนวนหมู่บ้าน

จำนวนหมู่บ้านในเขตตำบลมะรือโบตก มี ๙ หมู่บ้าน แยกดังนี้

  • จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทั้งหมู่บ้าน มี ๒ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๒ , ๙
  • จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. บางส่วน มี ๓ หมู่บ้าน ได้แก่ ๓ , ๔ , ๖
  • จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาล เต็มพื้นที่ มี ๔ หมู่บ้าน ได้แก่ ๑ , ๕, ๗ , ๘
  • จำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาล บางส่วน มี ๓ หมู่บ้าน ได้แก่ ๓ , ๔ , ๖

องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก ประกอบด้วย ๕ หมู่บ้าน ๑๓ กลุ่มบ้าน ดังนี้

.๕ ท้องถิ่นอื่นในตำบล

เทศบาล จำนวน ๑ แห่ง คือ เทศบาลตำบลมะรือโบตก

  1. ประชากร

ครัวเรือนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก ๘๙๐ ครัวเรือน ประชากรทั้งสิ้นในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก 4,752 คน แยกเป็น ชาย 2,363 คน หญิง 2,389 คน

ข้อมูล ณ เดือนกันยายน พ.ศ. 2561

 

  1. สภาพทางเศรษฐกิจ

.๑ อาชีพ

ประชากรในเขตตำบลมะรือโบตก ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาชีพเกษตรกรรมที่สำคัญ ได้แก่ การทำสวนยางพารา และสวนผลไม้ ซึ่งเป็นอาชีพที่ทำรายได้หลักของประชาชนและอาชีพอื่น ๆ เช่น รับจ้างทั่วไป , ค้าขาย เป็นอาชีพรองลงมา นอกจากนั้นการเคลื่อนย้ายแรงงานของประชากร โดยเฉพาะแรงงานหนุ่มสาวนิยมไปทำงานในเมืองและประเทศเพื่อนบ้านบางส่วนเพื่อไปประกอบอาชีพรับจ้าง ประเภทต่าง ๆ

.๒ การเกษตรกรรม

ในตำบลมะรือโบตกมีพื้นที่ในการทำการเกษตร ๒๔,๑๓๙ ไร่ ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพกรีดยางพารา การประกอบอาชีพของชุมชนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ในส่วนของเทคโนโลยีการผลิตยังคงมีน้อยและการทำสวนผลไม้เป็นเพียงอาชีพเสริมรายได้เท่านั้น

ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ยางพาราและส่วนผลไม้ (ลองกอง ,ลางสาด ,ทุเรียน ,เงาะ ,มังคุด เป็นต้น

.๓ หน่วยธุรกิจในตำบลมะรือโบตก

ยังไม่มีหน่วยธุรกิจในพื้นที่ ทั้งนี้เพราะยังไม่มีศักยภาพเพียงพอ ในการจัดตั้งหน่วยธุรกิจแต่จะมีร้านค่าในรูปแบบพาณิชย์กรรมส่วนใหญ่อยู่ในรูปการค้าย่อยและค้าปลีก

  1. สภาพทางสังคม

ประชาชนในท้องถิ่นเป็นสังคมที่พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันและจุอยู่รวมกันเป้นกลุ่มเครือญาติพี่น้องและจะสร้างบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่ม ๆ จะอยู่ในลักษณะเป็นครอบครัวใหญ่

  1. การศึกษา
  • โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน ๒ แห่ง

โรงเรียนบ้านบระเอ็ง

โรงเรียนบ้านนิบง

  • ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน จำนวน ๒ แห่ง

– โรงเรียนตาดีกา จำนวน ๗ แห่ง

บ้านบระเอ็ง จำนวน ๑ แห่ง

บ้านนิบง จำนวน ๑ แห่ง

บ้านบูเก๊ะมูนิง จำนวน ๑ แห่ง

บ้านอาแว จำนวน ๒ แห่ง

บ้านสะโลว์ จำนวน ๒ แห่ง

.๒ สถาบันและองค์กรทางศาสนา

– มัสยิด จำนวน ๕ แห่ง

บ้านบระเอ็ง จำนวน ๑ แห่ง

บ้านนิบง จำนวน ๑ แห่ง

บ้านอาแว จำนวน ๒ แห่ง

บ้านสะโลว์ จำนวน ๑ แห่ง

– บาลาเซาะ จำนวน ๑๑ แห่ง

บ้านบระเอ็ง จำนวน ๔ แห่ง

บ้านนิบง จำนวน ๒ แห่ง

บ้านบาเละบาโรห์ จำนวน ๒ แห่ง

บ้านอาแว จำนวน ๒ แห่ง

บ้านสะโลว์ จำนวน ๓ แห่ง

.๓ ขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญได้แก่

– ประเพณีเข้าสุนัต

– ประเพณีวันเมาลิด (รำลึกถึงท่านศาสดา)

– ประเพณีกวนอาซูรอ

– ประเพณีวันฮารีรายอ

– ประเพณีการถือศีลอดตามศาสนาบัญญัติอิสลาม

– ประเพณีการแต่งกายแบบมลายูพื้นเมือง

.๔ สาธารณะสุข

ในเขต อบต. มะรือโบตก มีสถานบริการสาธารณสุข จำนวน ๑ แห่ง และมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำอยู่ ๓ คน

ในด้านอัตราการเกิดยังอยู่ในระดับสูง เนื่องจากการวางแผนยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะขาดการร่วมมือที่ดีจากประชาชน

สำหรับโรคที่เป็นปัญหาสำคัญของชุมชน ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ โรคผิวหนัง โรคระบบย่อยอาหารและช่องปาก โรคระบบกล้ามเนื้อ โรคตา โรคจมูก โรคหู โรคภาวะแปรปรวนทางจิตใจ โรคระบบสืบพันธ์และโรคจากสาเหตุอื่น เป็นต้น

  1. การคมนาคม

ตำบลมะรือโบตก มีการคมนาคมขนส่งทางรถยนต์ ดังนี้

ทางหลวงจังหวัด หมายเลข ๔๐๕๙ สายรือเสาะ – ยี่งอ ระยะทาง ๓๓ กิโลเมตร

.๑ การสื่อสารและโทรคมนาคม

ตู้โทรศัพท์สาธารณะในหมู่บ้านบริการให้แก่ประชาชน เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร มีดังนี้

หมู่ที่ ๒ มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑ ตู้

หมู่ที่ ๓ มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน – ตู้

หมู่ที่ ๔ มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑ ตู้

หมู่ที่ ๖ มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๒ ตู้

หมู่ที่ ๙ มีตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน ๑ ตู้

.๒ การจราจร

ตำบลมะรือโบตกได้วางเส้นทางการจราจรไว้เพียงพอกับการรับความเจริญเติบโตไว้ระยะยาว ในอนาคต แต่ถนนบางสายที่ต้องปรับปรุง เพื่อให้การสัญจรไปมาของประชาชนได้รับความสะดวกเพิ่มขึ้น เนื่องจากเขตพื้นที่บางส่วนประสบกับปัญหาน้ำท่วมทุกปี จึงทำให้ถนนบางสายได้รับความชำรุดและเสียหาย

.๓ การไฟฟ้า

ในเขตชุมชนตำบลมะรือโบตก ได้รับบริการไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอระแงะ ซึ่งรับกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมีสถานีไฟฟ้าย่อยอยู่ริมถนนสายตันหยงมัส – นราธิวาส การให้บริการสาธารณะด้านไฟฟ้าได้ขยายเขตการไฟฟ้าสาธารณะออกสู่หมู่บ้านในเขตพื้นที่แล้ว จำนวน ๕ หมู่บ้าน แต่ยังไม่ครบทุกครัวเรือน บางครัวเรือนใช้แบบต่อพ่วงจากเพื่อนบ้าน

.๔ แหล่งน้ำธรรมชาติ

องค์การบริหารส่วนตำบลมะรือโบตก มีแหล่งน้ำไหลผ่านที่สำคัญ ๕ สาย คือ

๑. คลองไอร์ฮาปา มีต้นน้ำจากภูเขาบ้านบระเอ็ง มีน้ำไหลผ่านตลอดปี ความยาวประมาณ ๓,๕๐๐ เมตร

๒. คลองนิบง มีต้นน้ำจากภูเขานิบง มีความยาวประมาณ ๒,๕๐๐ เมตร เป็นคลองธรรมชาติ

๓. คลองสโลว์ มีต้นน้ำจากภูเขาบ้านสโลว์ ความยาวประมาณ ๑,๐๐๐ กิโลเมตร ไหลผ่านหมู่ที่ ๓ บ้านนิบงมาบรรจบที่คลองฮาปา

๔. คลองบูเกะอาแว มีต้นน้ำจากภูเขาบ้านอาแว ความยาวประมาณ ๑,๕๐๐ กิโลเมตร

๕. คลองบระเอ็ง มีต้นน้ำจากภูเขาบ้านบระเอ็ง มีน้ำไหลผ่านหมู่ที่ ๔ ความยาวประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลเมตร

ส่วนใหญ่แหล่งน้ำธรรมชาติประชาชนจะใช้เป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร

– ลำน้ำ , ลำห้วย ๔ แห่ง – บึง , หนอง .และอื่น ๆ ๓ แห่ง

.๕ แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

๑. ฝาย/ทำนบ ๔ แห่ง

๒. บ่อน้ำตื้น ๑๐ แห่ง

๓. ถังเก็บน้ำฝน ๖ แห่ง

๔. บ่อบาดาล ๑๑ แห่ง

  1. ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่

.๑ ทรัพยากรป่าไม้

พื้นที่เขตมะรือโบตก มีลักษณะเป็นป่าไม้เบญจพรรณ มีสภาพเขียวชอุ่มตลอดปี ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ตะเคียน เป็นต้น พื้นที่ป่าส่วนใหญ่เป็นป่าสงวนแห่งชาติ มีเขตติดต่อ ๒ อำเภอ คือ ยี่งอ และ รือเสาะ

  1. ศักยภาพในตำบล

.๑ ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล

คณะผู้บริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ

พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบล

พนักงานจ้างองค์การบริหารส่วนตำบล

.๑ ระดับการศึกษา

ประถมศึกษา จำนวน ๓ คน

ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จำนวน ๔ คน

ปริญญาตรี จำนวน ๑๔ คน

สูงกว่าปริญญาตรี จำนวน ๓ คน

.๒ รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล

ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๗ แยกเป็น

  • รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง 62,545.54.- บาท
  • รายได้ที่ส่วนราชการต่างๆจัดเก็บให้ 11,754,398.30.- บาท
  • เงินอุดหนุนจากรัฐบาล 6,338,813.- บาท

รวมทั้งสิ้น 18,144,756.84.- บา